หน้าหลัก > บทความเศรษฐกิจ > บทความวิเคราะห์รายงานทางเศรษฐกิจ(ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566)

บทความวิเคราะห์รายงานทางเศรษฐกิจ(ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566)

     ข้อมูลเดือนกันยายน 2566 จากตารางภาวะเศรษฐกิจและการเงิน จะเห็นว่าดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าลดลง เพราะราคาน้ำมันยังมีราคาปรับตัวลดลง รวมทั้งราคาสินค้าจำพวกอาหารสดราคาค่อนข้างทรงตัว จึงส่งผลทำให้ราคามีทิศทางที่น้อยลงจากเดือนที่ผ่านมา ส่วนภาคการผลิตมีการปรับตัวมากขึ้น เนื่องจากภาวะการค้าโลกมีแนวโน้มดีขึ้น จึงทำให้ในเดือนนี้การผลิตสินค้ามีการขยายตัวขึ้นมา ในขณะเดียวกันดุลการค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นและยังมีทิศทางที่เป็นบวก ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังมีความแปรปรวนอยู่ จึงยังไม่น่าเป็นห่วงมากเท่าไรนัก ทั้งนี้ต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามภาวะการเงินยังทรงตัวไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง โดยปริมาณเงินฝากและเงินให้สินเชื่อมีค่าลดลง เนื่องจากการลงทุนอื่นๆ เริ่มมีผลตอบแทนที่ดีขึ้น จึงส่งผลให้การออมเงินมีการหดตัวลงมา ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อมีค่าลดลง เนื่องจากธนาคารได้มีการทยอยปล่อยสินเชื่อออกไปบ้างแล้ว ทำให้ในเดือนนี้จึงมีการหดตัวลง รวมทั้งยังมีความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสียตามมาอีกด้วย

ตารางภาวะเศรษฐกิจและการเงิน
 

เดือน / รายละเอียด

มิถุนายน 66

กรกฎาคม 66

สิงหาคม 66

กันยายน 66

ดัชนีราคาผู้บริโภค

107.83

107.82

108.41

108.02

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

93.28

91.26

91.94

92.23

อัตราการใช้กำลังการผลิต

59.22

58.09

57.91

58.02

ดุลการค้า

2,017.61

355.18

1,224.57

3,813.09

ดุลบัญชีเดินสะพัด

867.56

-508.02

401.21

3,406.05

เงินฝาก

17,051.73

16,978.65

16,964.43

n.a.

เงินให้สินเชื่อ

18,486.88

18,317.50

18,278.05

n.a.

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ    ดัชนีราคาผู้บริโภค มีปีฐานคือ 2562               เงินฝาก/เงินให้สินเชื่อ มีหน่วยเป็น พันล้านบาท
                อัตราการใช้กำลังการผลิต มีหน่วยเป็น ร้อยละ  ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีปีฐานคือ 2559
                ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด มีหน่วยเป็น ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

วิเคราะห์โครงการ Branded Residence เทรนด์อสังหาฯ ที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น *

 

     Branded Residence หรือโครงการที่อยู่อาศัยที่มีโรงแรมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของที่อยู่อาศัยที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวของไทย เช่น พัทยา ภูเก็ต สมุย ชะอำ หัวหิน กระบี่ พังงา ที่มีบริการโรงแรมระดับ 3-5 ดาว เพื่อดูแลส่วนกลางและบริการต่างๆ จะได้ไม่ต้องจัดจ้างพนักงานเพิ่ม ทั้งนี้ในกรุงเทพฯ มีหลายโครงการที่เปิดขายมานาน บางแห่งมากกว่า 10 ปี  ซึ่งโครงการรูปแบบนี้มักจะมีแบรนด์ของโรงแรมเป็นส่วนหนึ่งของชื่อโครงการเพื่อสื่อถึงความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะต่างชาติ จึงมีราคาขายที่สูงกว่าคอนโดมิเนียมทั่วไปราว 10%

     ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียม Branded Residence ในกรุงเทพฯ เปิดขาย 4,200 ยูนิต ส่วนใหญ่เปิดขายตั้งแต่ ปี 2558 แต่ช่วงปี 2562 แทบจะไม่มีโครงการรูปแบบนี้เปิดขาย และกลับมาเปิดขายอีกครั้งปลายปี 2566 คอนโดมิเนียม Branded Residence ในกรุงเทพฯ มีทั้งการขายแบบกรรมสิทธิ์ในเอกสารสิทธิ์ถาวร และการขายแบบสิทธิการเช่า 30 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งการขายแบบสิทธิการเช่าอาจตั้งราคาขายค่อนข้างสูงเทียบการขายแบบกรรมสิทธิ์ เพราะแบรนด์โรงแรมที่เข้ามาบริหารอยู่ในระดับที่สูงกว่า หากเป็นแบรนด์โรงแรม 5 ดาว บางโครงการเปิดขายมากกว่า 350,000 บาทต่อตารางเมตร หรือเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาทต่อยูนิต

     ขณะที่โครงการที่ขายแบบกรรมสิทธิ์อาจมีราคาขายต่ำกว่าค่อนข้างมากราว 220,000 บาทต่อตารางเมตร ถ้าเปิดขายก่อนปี 2560 ราคาเริ่มต้นต่ำกว่า 170,000 บาทต่อตารางเมตร แต่โครงการที่ขายแบบสิทธิการเช่าราคาขายหรือมูลค่าจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อระยะเวลาในสัญญาเช่าลดน้อยลงจากที่เปิดขายวันแรก สำหรับอัตราการขาย Branded Residence ในกรุงเทพฯ เฉลี่ย 78% ทำให้ยูนิตเหลือขายไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ชั้นในตามแนวถนนสุขุมวิท และพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ หรือรูปแบบเฉพาะ เช่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยา รอบสวนลุมพินี หรือใน CBD  จึงได้รับความสนใจจากผู้ซื้อชาวไทยและต่างชาติ

     แม้ว่าหลายโครงการจะขายแบบสิทธิการเช่าระยะยาวก็ตาม โครงการรูปแบบนี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บน   ที่ดินราคาสูงในพื้นที่เมืองชั้นในหรือบนที่ดินสิทธิการเช่าระยะยาว ผู้ประกอบการจึงต้องเพิ่มการบริหารและบริการรูปแบบนี้เข้าไปในโครงการเพื่อที่จะปรับราคาขายให้เหมาะสมกับราคาที่ดินและต้นทุนพัฒนาโครงการราคาขายเฉลี่ยของ Branded Residence ปัจจุบันอยู่ที่ 250,000 บาทต่อตารรงเมตร บางโครงการมากกว่า 300,000 และ 400,000 บาทต่อตารางเมตร

     แนวโน้มโครงการ Branded Residence ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยวชายทะเล ทว่าจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นไม่มากเฉลี่ยเปิดปีละ 1-2 โครงการ เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก เช่น กลุ่มทีซีซีมี Branded Residence ในโครงการวันแบงค็อกและเอเชียทีค รวมถึงพื้นที่ “ล้ง 1919” ที่เปลี่ยนเป็นแบรนด์โรงแรมหรูระดับโลก The Ritz-Carlton สอดคล้องกับทิศทางของ Branded Residence ในหลายประเทศทั่วโลก เพราะเป็นหนึ่งในเป้าหมายของนักลงทุนที่ต้องการเป็นเจ้าของโครงการ Branded Residence ที่อาจมีเพียง 1 โครงการในประเทศนั้นๆ หากแต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในระยะยาว คือ แบรนด์โรงแรมที่มีส่วนร่วมกับโครงการจะยืนระยะไปได้นานแค่ไหน โดยก่อนหน้านี้มีเรื่องของการเปลี่ยนแบรนด์โรงแรมในการบริหารหรือมีส่วนร่วมในโครงการ ถ้าแบรนด์โรงแรมที่เข้ามาบริหารใหม่หลังจากแบรนด์เดิมนั้นมีชื่อเสียงไม่เหมือนเดิม จะมีผลต่อราคาขายในอนาคตหรือไม่ เพราะต้องไม่ลืมว่าราคาขายช่วงแรกเป็นราคาที่ตั้งมาจากแบรนด์โรงแรมเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการโรงแรม อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงส่วนของค่าส่วนกลางที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีผลต่อการรักษามาตรฐานบริการและการบริหารส่วนกลางในระยะยาวอีกด้วย

     วิเคราะห์ผลกระทบของ AI & Automation ที่มีต่อแรงงาน

     สถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้ออกบทความพบว่าจากการสังเกตเทรนด์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านมุมมองนักเศรษฐศาสตร์แรงงาน ผู้ว่าจ้าง และผู้ผลิตระบบ AI ให้กับธุรกิจในประเทศไทย สามารถสรุปประเด็นสาระสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อแรงงานในอนาคต ดังนี้

     อัตราการพัฒนาของ AI โดยเฉพาะด้านภาษาและการมองเห็นที่เชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอก ถือว่าก้าวกระโดดไปได้รวดเร็วกว่าที่ทุกคนคาดคิด ในหลายมิติของการทำงาน AI ณ ปัจจุบันมีความสามารถและ ประสิทธิภาพมากกว่าแรงงานทั่วไปแล้ว และภายในปีหน้าคาดว่าบางมิติของทักษะในการบริหารหรือการวางแผนธุรกิจ AI จะทำได้ดีกว่าผู้บริหารทั่วไป ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ เปลี่ยนการมาของเทคโนโลยีนี้ให้กลายเป็นโอก

          1. อัตราการใช้งานเทคโนโลยีโดยองค์กร (adoption) หากอัตราการใช้เข้มข้น ผลกระทบต่อแรงงานจะเกิดขึ้นเร็ว แลกกับการได้มีโอกาสปรับตัวก่อนคนอื่น หากอัตราการใช้เจือจาง ผลกระทบต่อแรงงานมาช้าลง แต่อุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบภายหลัง เมื่อโดยคู่แข่งที่ปรับไปใช้เทคโนโลยีช่วยการผลิตที่เหนือกว่า

          2. ความคล่องตัวในองค์กร (flexibility) ว่าพร้อมที่จะเลิก ชะลอการจ้างงาน หรือกล้าที่จะเปลี่ยน กระบวนการผลิตหรือให้ความหมายใหม่กับพนักงานเพียงใด  นายจ้างมีทางเลือกหลักอยู่ 2 ทางคือ ทางเลือกแรก ทดแทนแรงงานด้วยเทคโนโลยี หรือทางเลือกที่สอง คิดชิ้นงานใหม่ขึ้นมาเพื่อเอาไปขายให้ได้มากกว่าเดิม หากทุกองค์กรเลือกทางเลือกแรกจะเกิดแรงกดดันต่อแรงงานมหาศาล แต่หากย้อนมองประวัติศาสตร์จะพบว่าแม้เทคโนโลยีสำคัญจะมีผลกับการปลดคนจริง แต่ก็มีการสร้างงานใหม่มารองรับจริงเช่นกัน เกินครึ่งของเนื้องานและหน้าที่ในเศรษฐกิจปัจจุบันไม่เคยมีมาก่อนเมื่อ 80 ปีที่แล้ว ฉะนั้นองค์กรที่ต้องการเติบโตจะสร้างชิ้นงานใหม่ให้กับแรงงาน โดยเฉพาะหาก AI มีลักษณะที่เสริมสร้างผลิตภาพของแรงงานให้ทำสิ่งที่ไม่เคยทำได้ (augmentation) ไม่ใช่การทดแทนอย่างสมบูรณ์ (complete automation) ในงานเดิมๆ

          3. สัดส่วนของทักษะในแรงงาน (skill composition) ไม่ว่าองค์กรจะมีความยืดหยุ่นหรือไม่ หรือเทคโนโลยีจะเอียงไปด้าน augmentation หรือ ด้าน automation สุดท้ายจะตัดสินไปทางไหนขึ้นอยู่กับรายละเอียดเชิงโครงสร้างและสัดส่วนของทักษะในตัวแรงงานที่มีอยู่ภายในองค์กรและในตลาดแรงงานว่าสามารถปรับเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กรได้ดีเพียงใด เรื่องทักษะเป็นเรื่องที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน แต่เริ่มมีหลักฐานบ้างแล้ว การมี hard skills เช่น ทักษะวิเคราะห์การเงิน วินิจฉัยโรค เขียนโปรแกรม อย่างเดียวจะกลายเป็นแค่ทักษะขั้นพื้นฐาน ในช่วงหลังงานวิจัยเศรษฐศาสตร์แรงงานเริ่มเห็นหลักฐานแล้วว่าแม้ทักษะเหล่านี้มีนัยสำคัญต่อค่าตอบแทนที่สูง แต่พบว่าหลังปี 2000 เป็นต้นมา ได้ถูกลดบทบาทลงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับทักษะ soft skills เช่น ทักษะการตัดสินใจที่ดี และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น 

กลุ่มประชาสัมพันธ์
ฝ่ายสื่อสารองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์

บทความเศรษฐกิจ

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566

120 Views

BAM Mobile Application

ค้นหาทรัพย์ง่ายๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส

บริการฝากขาย
อสังหาฯ
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย