หน้าหลัก > บทความการเงิน > ผลตอบแทนระยะสั้น-ยาวของหุ้น

ผลตอบแทนระยะสั้น-ยาวของหุ้น

ผลตอบแทนระยะสั้น-ยาวของหุ้น*

          ในการคำนวณหาผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นต่อปีที่คาดไว้วิธีง่าย ๆ อย่างหนึ่งก็คือการใช้สูตรที่ว่าผลตอบแทนการลงทุน “ระยะยาว” นั้น  จะเท่ากับอัตราปันผลตอบแทนในปีแรกบวกอัตราการเติบโตของกำไรหรือปันผลของ บริษัท  ตัวอย่างเช่น  ถ้าในปีแรกที่ลงทุนนั้นคาดว่าจะได้ปันผลเป็นเงิน 3 บาทต่อหุ้น ในขณะที่ราคาหุ้นเท่ากับ 100 บาท  แบบนี้ก็คืออัตราปันผลในปีแรกเท่ากับ 3% และถ้าคาดว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่ “โตเร็วมาก” โดยเฉลี่ยแล้วกำไรหรือปันผลสามารถโตได้ถึง 12% ต่อปีไปเรื่อยๆ เป็นเวลาอาจจะ 20-30 ปีขึ้นไป ถ้าเป็นแบบนี้ผลตอบแทนระยะยาวของหุ้นตัวนี้ก็คือ ปีละ 15% ทบต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นมากเป็นหุ้นที่หาได้ยาก ในตลาดหลักทรัพย์อย่างตลาดหุ้นไทยที่มีหุ้นหลายร้อยตัวนั้น ก็จะมีไม่กี่ตัวที่ทำได้ และถ้าใครถือหุ้นตัวนั้นไว้ยาวนานในปริมาณที่มาก ก็อาจจะรวยไปเลย ถ้าเป็นในต่างประเทศก็อาจจะเป็นระดับหุ้นโค๊กหรือวอลมาร์ท ในตลาดหุ้นไทยนั้นอาจจะเป็นหุ้นแบบปูนใหญ่ก็ได้              

          ถ้าคิดว่าตลาดหลักทรัพย์นั้นก็เหมือนกับหุ้นตัวหนึ่ง โดยที่ดัชนีตลาดหุ้นก็คือราคาหุ้น ก็จะพบว่า “หุ้นตลาด” นั้น เมื่อเข้ามาซื้อขายในวันแรกประมาณเดือนเมษายน 2518 มีราคาเท่ากับ 100 บาทต่อหุ้น พอถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2556 คิดเป็นเวลาประมาณ 38 ปี 4 เดือน ราคาหรือดัชนีขึ้นมาเป็น 1338 บาทต่อหุ้น เท่ากับว่าผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของราคาเท่ากับประมาณ 7% ต่อปีแบบทบต้น  นอกจากนั้นผู้ถือหุ้นตลาดยังได้ปันผลแต่ละปีประมาณ 3% ดังนั้นเท่ากับว่าคนที่ลงทุนถือ “หุ้นตลาด” ในระยะยาวได้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10% โดยเฉลี่ยแบบทบต้น ซึ่งก็ต้องถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมและน่าจะเหนือกว่าการลงทุนหลัก อย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน ซื้อหุ้นกู้หรือพันธบัตรรัฐบาล หรือแม้แต่การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องพูดถึงทองหรือการลงทุน “ทางเลือก” อื่นๆ ว่าที่จริงตลาดหุ้นไทยนั้นต้องถือว่าเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่ดี ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นในสหรัฐทีเดียวและดีกว่าตลาดหุ้นจำนวนมากในโลก แต่ไม่รู้ว่าตอนที่เริ่มมีการซื้อขาย “หุ้นตลาด” ในปีแรกนั้น อัตราการจ่ายปันผลเป็นเท่าไร แต่ถ้าให้คาดเดาคิดว่าก็อาจจะประมาณปีละ 3%  และถ้าเป็นอย่างนั้น ก็สามารถที่จะพูดต่อได้ว่าอัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนต่อปีโดย เฉลี่ยในช่วง 38 ปีที่ผ่านมาก็คือ 7% ต่อปี            

          ในกรณีผลตอบแทน “ระยะสั้น” หรือ  “ระยะกลาง” ตั้งแต่หนึ่งปีหรือหลายๆ ปีจนถึง 10 ปีหรืออาจจะ 20 ปี นั้น จะต้องเพิ่มตัวเลขอีกตัวหนึ่งเข้าไปในสูตรหาผลตอบแทนระยะยาวที่กล่าวข้างต้น ตัวเลขตัวนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงของค่า PE หรือราคาเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้น ในกรณีที่ค่า PE ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมผลตอบแทนจากการลงทุนก็เหมือนกับกรณีการลงทุนระยะ ยาว เช่น ปันผลปีแรก 3% และกำไรโต 12% ผลตอบแทนทั้งปีเท่ากับ 15% แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น ค่า PE เดิมของหุ้นเมื่อตอนซื้อหุ้นเท่ากับ 10 เท่า แต่ในวันที่ขายหุ้นหลังจากถือหุ้นมา 1 ปี เท่ากับ 20 เท่า แบบนี้ก็ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นไปอีกประมาณหนึ่งเท่าตัวหรือเท่ากับได้กำไร เพิ่มขึ้น 100%  เมื่อบวกกับผลตอบแทนจากปันผล 3% และผลตอบแทนจากการเติบโตของกำไรอีก 12%  กลายเป็นว่าผลตอบแทนในระยะเวลา 1 ปี ของบริษัทนี้คือ 115% แต่ถ้าสมมุติว่าการเปลี่ยนแปลงของค่า PE นี้เกิดขึ้นในปีที่ 2 แทนที่จะเป็นปีแรก ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 100%  นั้นก็จะต้องแบ่งออกเป็น 2 ปี หรือเท่ากับกำไรต่อปีที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 50%  เมื่อรวมกับผลตอบแทนจากปันผลเริ่มแรกที่ 3%  และอัตราการเติบโตที่ 12%  เท่ากับว่าผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีของหุ้นตัวนี้ก็คือประมาณ 65% ยิ่งระยะเวลาการลงทุนยาวมาก ผลกระทบจากการปรับค่า PE  ก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ  จนในที่สุดก็แทบไม่มีผล การเปลี่ยนแปลงของ PE นั้น มักจะเกิดขึ้นจากมุมมองต่อหุ้นที่เปลี่ยนไปของนักลงทุนนั่นก็คือ ถ้านักลงทุนมองว่าบริษัทมีพื้นฐานที่ดีขึ้น อนาคตจะมีกำไรที่โตเร็วขึ้นเนื่องจากเหตุผลอะไรก็ตาม ก็จะเข้ามาลงทุนหรือยอมจ่ายมากขึ้นในการเข้ามาซื้อหุ้นหรือมาเป็นเจ้าของ หุ้น ผลก็คือราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปทั้งที่กำไรในระยะสั้นๆ อาจจะยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก นี่ทำให้ค่า PE ปรับตัวสูงขึ้น ตรงกันข้ามถ้านักลงทุนมองว่าพื้นฐานของบริษัทแย่ลง อนาคตการเติบโตจะช้าลงหรืออาจจะติดลบ ก็จะขายหุ้นทิ้งหรือจะซื้อแต่ต้องในราคาที่ต่ำลง ผลก็คือ ราคาหุ้นตกลงมา ค่า PE ก็จะลดลง และในกรณีหลังนี้ผลตอบแทนของการลงทุนระยะสั้นหรือระยะกลางก็จะปรับตัวลง จากตัวอย่างเดิมถ้าค่า PE ลดลงจาก 10 เท่า เหลือ 9 เท่า ก็ทำให้ราคาหุ้นหายไป 1 เท่า ของกำไรต่อหุ้นที่ 12% ดังนั้นผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้ 15% ต่อปีก็กลายเป็นเหลือแค่ 3% ต่อปี ทั้งๆ ที่กำไรในปีแรกก็ยังโต 12% อยู่

จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นก็จะเห็นว่าในระยะสั้นแล้ว ผลตอบแทนจากการลงทุนส่วนใหญ่ก็จะขึ้นอยู่กับมุมมองหรือความเห็นของนักลงทุน ต่อตัวหุ้นว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรมากกว่าข้อเท็จจริงว่าผลประกอบการจะเป็น อย่างไรหรือบริษัทมีการจ่ายปันผลในปีแรกมากน้อยแค่ไหน เพราะว่าผลตอบแทนการลงทุนนั้นมักจะถูกกระทบจากการปรับค่าของ PEค่อนข้างมาก แต่ในระยะยาวแล้วผลตอบแทนของการลงทุนก็มักจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่เกิด ขึ้นจริงต่อเนื่องยาวนานในอัตราที่ค่อนข้างสูงบวกกับอัตราการจ่ายปันผลเมื่อ เทียบกับราคาหุ้นหรือ Dividend Yield ในปีแรก ถ้าจะพูดตามหลักการก็คือในระยะสั้นตลาดหุ้นนั้นเป็นเหมือน “เครื่องลงคะแนน” ที่ “ความเห็น” ของนักลงทุนแต่ละคนจะเป็นตัวกำหนดราคาหุ้น แต่ในระยะยาวแล้วตลาดหุ้นเป็นเหมือน “เครื่องชั่ง” นั่นก็คือราคาหรือผลตอบแทนของหุ้นขึ้นอยู่กับ “น้ำหนัก” หรือผลประกอบการที่บริษัททำได้จริง

          สำหรับการที่จะเลือกลงทุนในหุ้นตัวไหนนั้น คิดว่าควรคาดการณ์ “ผลตอบแทนระยะยาว” เป็นหลักค่าอัตราปันผลต่อราคาหุ้นหรือ Dividend Yield ในปีแรกนั้นน่าจะคาดการณ์ได้ไม่ยากนัก เนื่องจากการคาดการณ์กำไรในระยะเวลาเพียงปีเดียวรวมถึงการจ่ายปันผลนั้น โอกาสผิดพลาดรุนแรงคงไม่สูง ตัวเลขที่ยากกว่ามากก็คืออัตราการเจริญเติบโตของกำไรหรือปันผลในระยะยาวซึ่ง อาจจะมองไปข้างหน้าอย่างน้อยประมาณ 5-10 ปีขึ้นไปคิดว่าการประมาณการที่มากกว่าปีละ 15% ต่อปีนั้นจะต้องมีเหตุผลที่หนักแน่นจริงๆ  เพราะมันต้องหมายถึงว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ดีจริงๆ เมื่อได้ตัวเลขสองตัวนี้แล้ว ก็จะรู้ว่าผลตอบแทนที่คาดหวังสำหรับการลงทุนในหุ้นตัวนั้นคือเท่าไร ถ้าพบว่าหุ้นตัวหนึ่งน่าจะมีการเติบโตของกำไรเกิน 10% ต่อปีแบบทบต้นในระยะยาวนี่ก็เพียงพอในขั้นต้นแล้วว่ามันอาจจะเป็นหุ้นที่น่า สนใจลงทุนโดยไม่ต้องคิดถึงอัตราปันผลตอบแทนในปีแรก

          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน ตัวเลขค่า PE ของหุ้นตัวนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเท่าๆ กัน เพราะอาจจะไม่ได้ลงทุนในระยะเวลาที่ยาวมากขนาดเป็นสิบๆ ปีขึ้นไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในค่าของ PE จึงอาจจะกระทบกับผลตอบแทนการลงทุนได้ บางครั้งก็ค่อนข้างมาก วิธีการที่จะลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนที่ดีก็คือ ถ้าค่า PE ในวันที่ซื้อมีค่าค่อนข้างต่ำเช่นไม่เกิน 10 เท่า โอกาสที่ค่า PE จะปรับขึ้นก็มีมากกว่าซึ่งนั่นจะทำให้ผลตอบแทนต่อปีดีขึ้น ถ้าค่า PE อยู่ในช่วงกลางๆ เช่น ประมาณ 13-14 เท่า ก็อาจจะมองว่าผลตอบแทนก็คงประมาณที่คำนวณได้ต่อปีในระยะยาว แต่ถ้าค่า PE ค่อนข้างสูงเช่น 20 เท่า ขึ้นไป ก็ต้องระวังว่าโอกาสที่ค่า PE ในอนาคตอาจจะปรับตัวลงก็เป็นไปได้ เพราะมุมมองของนักลงทุนต่อหุ้นในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปได้และนั่นจะทำให้ผลตอบ แทนลดลง แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ผลกระทบของ PE จะน้อยลงถ้าถือหุ้นยาวขึ้น ดังนั้นสำหรับนักลงทุนระยะยาวจริงๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็น่าจะยังเป็นเรื่องของอัตราการเจริญเติบโตในระยะยาวของ บริษัทมากกว่า
การเปลี่ยนแปลงของ PE นั้น มักจะเกิดขึ้นจากมุมมองต่อหุ้นที่เปลี่ยนไปของนักลงทุนนั่นก็คือ ถ้านักลงทุนมองว่าบริษัทมีพื้นฐานที่ดีขึ้น อนาคตจะมีกำไรที่โตเร็วขึ้นเนื่องจากเหตุผลอะไรก็ตาม ก็จะเข้ามาลงทุนหรือยอมจ่ายมากขึ้นในการเข้ามาซื้อหุ้นหรือมาเป็นเจ้าของ หุ้น ผลก็คือราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปทั้งที่กำไรในระยะสั้นๆ อาจจะยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก นี่ทำให้ค่า PE ปรับตัวสูงขึ้น ตรงกันข้ามถ้านักลงทุนมองว่าพื้นฐานของบริษัทแย่ลง อนาคตการเติบโตจะช้าลงหรืออาจจะติดลบ ก็จะขายหุ้นทิ้งหรือจะซื้อแต่ต้องในราคาที่ต่ำลง ผลก็คือ ราคาหุ้นตกลงมา ค่า PE ก็จะลดลง และในกรณีหลังนี้ผลตอบแทนของการลงทุนระยะสั้นหรือระยะกลางก็จะปรับตัวลง จากตัวอย่างเดิมถ้าค่า PE ลดลงจาก 10 เท่า เหลือ 9 เท่า ก็ทำให้ราคาหุ้นหายไป 1 เท่า ของกำไรต่อหุ้นที่ 12% ดังนั้นผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้ 15% ต่อปีก็กลายเป็นเหลือแค่ 3% ต่อปี ทั้งๆ ที่กำไรในปีแรกก็ยังโต 12% อยู่

          จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นก็จะเห็นว่าในระยะสั้นแล้ว ผลตอบแทนจากการลงทุนส่วนใหญ่ก็จะขึ้นอยู่กับมุมมองหรือความเห็นของนักลงทุน ต่อตัวหุ้นว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรมากกว่าข้อเท็จจริงว่าผลประกอบการจะเป็น อย่างไรหรือบริษัทมีการจ่ายปันผลในปีแรกมากน้อยแค่ไหน เพราะว่าผลตอบแทนการลงทุนนั้นมักจะถูกกระทบจากการปรับค่าของ PEค่อนข้างมาก แต่ในระยะยาวแล้วผลตอบแทนของการลงทุนก็มักจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่เกิด ขึ้นจริงต่อเนื่องยาวนานในอัตราที่ค่อนข้างสูงบวกกับอัตราการจ่ายปันผลเมื่อ เทียบกับราคาหุ้นหรือ Dividend Yield ในปีแรก ถ้าจะพูดตามหลักการก็คือในระยะสั้นตลาดหุ้นนั้นเป็นเหมือน “เครื่องลงคะแนน” ที่ “ความเห็น” ของนักลงทุนแต่ละคนจะเป็นตัวกำหนดราคาหุ้น แต่ในระยะยาวแล้วตลาดหุ้นเป็นเหมือน “เครื่องชั่ง” นั่นก็คือราคาหรือผลตอบแทนของหุ้นขึ้นอยู่กับ “น้ำหนัก” หรือผลประกอบการที่บริษัททำได้จริง

          สำหรับการที่จะเลือกลงทุนในหุ้นตัวไหนนั้น คิดว่าควรคาดการณ์ “ผลตอบแทนระยะยาว” เป็นหลักค่าอัตราปันผลต่อราคาหุ้นหรือ Dividend Yield ในปีแรกนั้นน่าจะคาดการณ์ได้ไม่ยากนัก เนื่องจากการคาดการณ์กำไรในระยะเวลาเพียงปีเดียวรวมถึงการจ่ายปันผลนั้น โอกาสผิดพลาดรุนแรงคงไม่สูง ตัวเลขที่ยากกว่ามากก็คืออัตราการเจริญเติบโตของกำไรหรือปันผลในระยะยาวซึ่ง อาจจะมองไปข้างหน้าอย่างน้อยประมาณ 5-10 ปีขึ้นไปคิดว่าการประมาณการที่มากกว่าปีละ 15% ต่อปีนั้นจะต้องมีเหตุผลที่หนักแน่นจริงๆ  เพราะมันต้องหมายถึงว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ดีจริงๆ เมื่อได้ตัวเลขสองตัวนี้แล้ว ก็จะรู้ว่าผลตอบแทนที่คาดหวังสำหรับการลงทุนในหุ้นตัวนั้นคือเท่าไร ถ้าพบว่าหุ้นตัวหนึ่งน่าจะมีการเติบโตของกำไรเกิน 10% ต่อปีแบบทบต้นในระยะยาวนี่ก็เพียงพอในขั้นต้นแล้วว่ามันอาจจะเป็นหุ้นที่น่า สนใจลงทุนโดยไม่ต้องคิดถึงอัตราปันผลตอบแทนในปีแรก

          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน ตัวเลขค่า PE ของหุ้นตัวนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเท่าๆ กัน เพราะอาจจะไม่ได้ลงทุนในระยะเวลาที่ยาวมากขนาดเป็นสิบๆ ปีขึ้นไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในค่าของ PE จึงอาจจะกระทบกับผลตอบแทนการลงทุนได้ บางครั้งก็ค่อนข้างมาก วิธีการที่จะลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนที่ดีก็คือ ถ้าค่า PE ในวันที่ซื้อมีค่าค่อนข้างต่ำเช่นไม่เกิน 10 เท่า โอกาสที่ค่า PE จะปรับขึ้นก็มีมากกว่าซึ่งนั่นจะทำให้ผลตอบแทนต่อปีดีขึ้น ถ้าค่า PE อยู่ในช่วงกลางๆ เช่น ประมาณ 13-14 เท่า ก็อาจจะมองว่าผลตอบแทนก็คงประมาณที่คำนวณได้ต่อปีในระยะยาว แต่ถ้าค่า PE ค่อนข้างสูงเช่น 20 เท่า ขึ้นไป ก็ต้องระวังว่าโอกาสที่ค่า PE ในอนาคตอาจจะปรับตัวลงก็เป็นไปได้ เพราะมุมมองของนักลงทุนต่อหุ้นในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปได้และนั่นจะทำให้ผลตอบ แทนลดลง แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ผลกระทบของ PE จะน้อยลงถ้าถือหุ้นยาวขึ้น ดังนั้นสำหรับนักลงทุนระยะยาวจริงๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็น่าจะยังเป็นเรื่องของอัตราการเจริญเติบโตในระยะยาวของ บริษัทมากกว่า

 

______________________
* โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร www.settrade.com

บทความการเงิน

วันที่ 20 กันยายน 2556

6196 Views

BAM Mobile Application

ค้นหาทรัพย์ง่ายๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส

บริการฝากขาย
อสังหาฯ
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย