เกี่ยวกับเรา
BAM ประกอบธุรกิจด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยมีส่วนช่วยเหลือลูกหนี้และแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน เพิ่มเติม
ทรัพย์
อื่นๆ
ติดต่อเรา
0-2630-0700
0-2266-3377
99 ถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
หน้าหลัก > บทความการเงิน > วิเคราะห์วิธีการคัดเลือกกองทุนรวมผสม
ที่มาของภาพ : https://www.za.in.th/wp-content/uploads/Mixed-Fund.png
สำหรับวิธีการคัดเลือกกองทุนรวมผสม (Mixed Fund) ต้องบอกก่อนเลยว่าการเปรียบเทียบระหว่างกองทุนรวมผสมด้วยกันเอง เป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนของแต่ละกองทุนรวมผสมไม่เหมือนกัน ความเสี่ยงก็จะไม่เท่ากัน ทำให้การเปรียบเทียบอาจจะไม่สามารถทำได้แบบกองทุนรวมตราสารหนี้หรือกองทุนรวมตราสารทุน (หุ้น) แล้วกองทุนรวมผสม (Mixed Fund) มีวิธีคัดเลือกยังไง
สำหรับกองทุนรวมผสมแนะนำว่าจะต้องเริ่มต้นที่ “สัดส่วนการลงทุน” ที่เหมาะสมกับ “ระดับความเสี่ยง” ที่รับได้ว่าเหมาะกับการกระจายการลงทุนแบบไหน ถ้าใครไม่ชอบความเสี่ยงหรือรับความเสี่ยงได้ต่ำ แนะนำว่าให้เลือกกองทุนรวมผสมที่มีกระจายการลงทุนในสินทรัพย์อย่างเช่น หุ้น ในสัดส่วนที่น้อยและตราสารหนี้ในสัดส่วนที่สูงมากขึ้น ในทางกลับกันใครที่รับความเสี่ยงสูงขึ้น ก็สามารถเลือกกองทุนรวมผสมที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่สูงมากขึ้นได้
สำหรับการคัดเลือกกองทุนรวมแบบผสม ยังแนะนำว่าสามารถใช้เว็บไซต์ www.morningstarthailand.com ได้เหมือนเคย โดยวิธีการคัดเลือกกองทุนรวมผสมในเบื้องต้นจะมีความคล้ายคลึงกับกองทุนอื่นๆ คือ จะเลือกกองทุนรวมที่ได้รับ 4-5 ดาวจาก Morningstar เป็นหลัก โดยปกติแล้วสามารถเลือกประเภทของกองทุนผสมที่แบ่งตามสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ได้ทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้
หลังจากที่เลือกกองทุนแบ่งตาม AIMC เป็น “Aggressive Allocation” แล้ว เลือกกองทุนที่มี 4-5 ดาว Morningstar Rating เท่านั้น แต่ย้ำอีกครั้งว่า Morningstar Rating จะเป็นการประเมินจากข้อมูลในอดีตเท่านั้น ไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้ดูได้ว่าในอดีตกองทุนรวมนี้มีประสิทธิภาพที่ดี จากนั้นให้โฟกัสไปที่กองทุนที่ได้รับ 4-5 ดาว พร้อมทั้งดูหนังสือชี้ชวนเพื่อดูนโยบายของทุกๆ กองทุนเพื่อดูว่ามีกองทุนรวมผสมกองไหนบ้างที่มี “สัดส่วนการลงทุน” ตามระดับความเสี่ยงที่ต้องการ
ในขั้นตอนต่อไปมาดูวิธีการคัดเลือกกันต่อในหัวข้อ “ความเสี่ยง” แนะนำว่าให้ดูที่ “Sharpe 3 ปี” (ซึ่งก็คือ Sharpe Ratio เฉลี่ย 3 ปี) หลักการดู Sharpe Ratio ง่ายมากๆ นั่นก็คือ ให้เลือกกองทุนที่มี Sharpe Ratio ที่สูงกว่า แปลว่ามีผลตอบแทนต่อหนึ่งหน่วยความเสี่ยงที่ดีกว่า ซึ่งน่าสนใจลงทุนมากกว่าหากเปรียบเทียบกับกองทุนรวมผสมที่มีนโยบายการลงทุนใกล้เคียงกัน แต่ในกรณี Sharpe Ratio ออกมาใกล้เคียงกันก็ให้ดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย ที่สำคัญต้องอย่าลืมเข้าไปดูหนังสือชี้ชวนของกองทุนอย่างละเอียดอีกครั้งด้วย เพื่อทำความเข้าใจถึงนโยบายการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต รวมไปจนถึงความเสี่ยง ค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในหนังสือชี้ชวนทั้งหมดเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
โดยสรุปขอย้ำเตือนกันอีกครั้งว่า “กองทุนรวมผสม” จะมีสินทรัพย์เสี่ยง อย่างเช่น หุ้น เป็นส่วนผสม เวลาที่ตลาดหุ้นเกิดความผันผวน กองทุนรวมผสมก็จะมีความผันผวนเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน แต่จะมีความผันผวนที่ต่ำกว่ากองทุนรวมหุ้น ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไป กองทุนรวมผสมก็มีโอกาสที่จะขาดทุนสูงกว่ากองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไป สำหรับใครที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้ แนะนำว่าควรลงทุนในระยะยาว จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องความผันผวนได้ดีนั่นเอง