หน้าหลัก > ข่าวประชาสัมพันธ์ BAM > เอ็มดีใหม่เล็งดัน บสก. เข้าตลาดหุ้น

เอ็มดีใหม่เล็งดัน บสก. เข้าตลาดหุ้น

          เปิดภารกิจเอ็มดีใหม่ บสก. เตรียมเข้าตลาดหุ้นปลายปีหน้าหวังดึงแบงก์มาถือหุ้นเพื่อขยายช่องทางเพิ่ม เอ็นพีแอลและเอ็นพีเอมาบริหาร มั่นใจปีนี้สร้างกำไรสูงกว่า 3.2 พันล้านบาท หลัง 8 เดือน กำไรแล้วกว่า 2.7 พันล้านบาท  เผยอยู่ระหว่างเจรจาซื้อหนี้จากแบงก์กรุงศรีและ ธอส. อีกกว่า 1 หมื่นล้านบาทในสิ้นปีนี้ จากสินทรัพย์ภายใต้การบริหารกว่า 3.8 แสนล้านบาท

          นา ยกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์(บสก.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บสก. เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา มีภาระกิจที่ต้องเร่งดำเนินการคือการสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นองค์กรหลักในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของประเทศไทย โดยตั้งเป้าหมายที่จะขยายสินทรัพย์ปีละ 15% และมีกำไรเพิ่มขึ้นปีละ 10%

          ส่วนเป้าหมายธุรกิจปีนี้บสก.ยังคงเป้าหมายการสร้างกำไรไว้ที่ 3,147 ล้านบาท แต่คาดว่าจะทำได้ถึง 3,250 ล้านบาท เนื่องจากในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาสามารถสร้างกำไรได้แล้ว 2,696 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการจัดเก็บหนี้ 10,573 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปี 1.2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้กำไรที่สร้างได้ในแต่ละปีจะมีการนำส่งคืนกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบ สถาบันการเงินในฐานะผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 60% ของกำไรสุทธิ

          นอกจากนี้ การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยังเป็นโอกาสที่สถาบันการเงินจะเข้ามาถือหุ้นในบสก. ซึ่งการที่ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์จะช่วยลดภาระในการ บริหารสินทรัพย์ให้สถาบันการเงินเหล่านั้นเองด้วย เนื่องจากการขายเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอให้ บสก. จะยังเป็นช่องทางในการปล่อยสินเชื่อใหม่ให้กับธนาคารพาณิชย์หากลูกหนี้ได้ รับการปรับโครงสร้างหนี้และต้องการเงินกู้ก้อนใหม่ หรือการขายทรัพย์ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ธนาคารพาณิชย์สามารถเข้ามาให้สิน เชื่อที่อยู่อาศัยได้เพิ่มเติม

          "สัญญาณหนี้เสียในระบบบสถาบันการเงินขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น มากนัก แต่ก็ยังมีลูกหนี้ส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้และกลับเข้ามาเป็นเอ็นพี แอลได้อยู่ แต่ที่ผ่านมาบางสถาบันการเงินไม่ขายเอ็นพีแอลออกมา เพราะราคาที่เจรจากันอาจไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ดังนั้นหากในอนาคตสถาบันการเงินเข้ามาถือหุ้นบสก.ได้ก็เชื่อว่าจะมีเอ็นพี แอลไหลเข้ามาให้บริการได้เพิ่มเติม"

          สำหรับความคืบหน้าในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นั้น คณะกรรมการคัดเลือกอยู่ระหว่างการจัดหาที่ปรึกษาทางการเงิน โดยจะมีการประกาศร่าง ข้อกำหนดและขอบเขตของงาน(TOR) ประมาณวันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งที่ปรึกษาการเงิน ต้องตอบโจทย์ให้บริษัทได้ว่า ประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับภายหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นอย่างไร โดยคาดว่า ระยะเวลาเร็วที่สุดที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้น่าจะเป็นช่วงไตรมาส 4 ของปี 2556

          ปัจจุบันพอร์ตสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของบสก.ภายหลังจากรวมพอร์ตของบรรษัท บริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.) แล้วจะมีประมาณ 3.7-3.8 แสนล้านบาท โดยเป็นเอ็นพีแอลประมาณ 3.3 แสนล้านบาท และเป็นสินทรัพย์รอการขายประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจซื้อเอ็นพีแอลเข้ามาเพิ่มจากธนาคารกรุง ศรีอยุธยาและธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งคาดว่ากระบวนการจะแล้วเสร็จสิ้นปีนี้

          นายกฤษณ์ กล่าวว่า การเติบโตที่ยั่งยืนของ บสก.ยังต้องให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนทางการเงิน(Cost of Fund) และการระดมทุนด้วย โดยเฉพาะการรักษาระดับต้นทุนทางการเงินให้อยู่ในระดับต่ำ เพราะธุรกิจบริหารสินทรัพย์จะต้องถือครองทรัพย์สินในระยะเวลาหนึ่ง หากต้นทุนการเงินแพงจะกระทบกับกำไรของธุรกิจได้ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทสามารถออกตราสารทางการเงินที่มีต้นทุนต่ำได้ แต่หากสามารถระดมทุนผ่านตลาดทุนได้นอกจากจะมีต้นทุนที่ต่ำแล้วยังเป็นโอกาส ในการหาพันธมิตรที่เป็นสถาบันการเงินอีกด้วย

          ปัจจุบันบสก. มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนประมาณ 1.6 เท่า แม้ยังมีความสามารถในการก่อหนี้ได้อีก แต่นโยบายของกองทุนฟื้นฟูต้องการให้บสก.รักษาความมั่นคงและไม่ต้องการเห็น สัดส่วนหนี้มากกว่าทุน

          โดยปัจจุบันบสก.มีหนี้อยู่ประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท มาจากบสท.1.1 หมื่นล้านบาท บริษัทบริษัทสินทรัพย์พญาไท 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งในปี 2558 บสก.มีภาระที่จะต้องจ่ายคืนตั๋วสัญญาใช้เงิน(P/N) ของบบส.พญาไท 1.9 หมื่นล้านบาท แต่บริษัทมีกระแสเงินสดเพียงพอจึงเชื่อว่าจะสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

ข่าวประชาสัมพันธ์ BAM

วันที่ 28 กันยายน 2555

1280 Views

BAM Mobile Application

ค้นหาทรัพย์ง่ายๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส

บริการฝากขาย
อสังหาฯ
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย