เกี่ยวกับเรา
BAM ประกอบธุรกิจด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยมีส่วนช่วยเหลือลูกหนี้และแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน เพิ่มเติม
ทรัพย์
อื่นๆ
ติดต่อเรา
0-2630-0700
0-2266-3377
99 ถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
หน้าหลัก > ข่าวประชาสัมพันธ์ BAM > บตท. จับมือ BAM ซื้อพอร์ตสินเชื่อบ้าน หนุนประชาชนมีที่อยู่อาศัย
บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (BAM) จับมือบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) เดินหน้ารับซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการหวัง ช่วยแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินให้สามารถขยายธุรกิจสินเชื่อต่อเนื่อง และร่วมมือกันขยายตลาดทรัพย์มือสอง โดย บตท. พร้อมปล่อยเงินกู้ให้ผู้ซื้อทรัพย์ BAM
วันนี้ (30 พฤษภาคม 2556) เวลา 10.00 น. นางพรนิภา หาชัยภูมิ กรรมการและผู้จัดการ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) และนายสมพร มูลศรีแก้ว รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (BAM) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือเพื่อรับซื้อสินเชื่อที่ อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน ณ อาคาร BAM สำนักงานใหญ่
นางพรนิภา หาชัยภูมิ กรรมการและผู้จัดการ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) กล่าวว่า "ในปีนี้ บตท. มีแผนเชิงรุกเพื่อเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน ในโครงการจัดซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัย และโครงการความร่วมมือออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยคงที่ ระยะยาว การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จึงนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินธุรกรรมร่วมกันในการรับซื้อพอร์ตสินเชื่อที่อยู่ อาศัยจากสถาบันการเงิน ซึ่งทาง บตท. จะรับซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในส่วนที่เป็นหนี้ที่มีคุณภาพ และBAM จะรับซื้อเฉพาะส่วนที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ หรือ NPL จากสถาบันการเงิน ตามพันธกิจหลักที่หน่วยงานดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้กับสถาบันการเงินโดยตรง ให้สามารถขายพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งที่เป็นหนี้ดี และหนี้เสียในคราวเดียวกันได้ ถือเป็นการลดขั้นตอนการทำงานและทำให้ได้เงื่อนไขที่ดีขึ้น อีกทั้งช่วยให้สถาบันการเงินสามารถลดความเสี่ยงด้านเครดิตและลดข้อจำกัดการ ดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำได้อีกด้วย อนึ่ง ผู้ที่สนใจซื้อทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยจาก BAM ยังสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวที่ออกโดย บตท.และสถาบันการเงินพันธมิตร ให้สามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
สำหรับโครงการความร่วมมือดังกล่าว นับเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วน ในการจัดซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ บตท.รับซื้อนั้นจะนำมาออกตราสารที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง หรือ "MBS" (Mortgage Backed-Securities) โดยใช้หลักการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ "Securitization"เพื่อพัฒนาตลาดทุนและตลาดเงินไปพร้อมกันเป็นการช่วยเสริม สภาพคล่องและลดความเสี่ยงให้กับสถาบันการเงินและช่วยประชาชนให้สามารถมีที่ อยู่อาศัยเป็นของตนเองเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ก้าวหน้าต่อไป"
นายสมพร มูลศรีแก้ว รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (BAM) กล่าวว่า โครงการดังกล่าว นับเป็นความร่วมมือที่ดีของทั้งสององค์กรในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ ที่จะเดินหน้าบริหารจัดการสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง โดย บตท. และ BAM จะร่วมกันเข้าเจรจา ทำความตกลงกับสถาบันการเงินที่มีความประสงค์จะขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบ คละคุณภาพ ซึ่ง บตท. จะรับซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยในส่วนที่เป็นหนี้มีคุณภาพ และ BAM จะรับซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยเฉพาะในส่วนที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพตามภารกิจ หลักขององค์กร เพื่อนำมาบริหารจัดการต่อไป
นอกจากนั้น ตามข้อตกลงของโครงการนี้ ลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินรอการขายของ BAM ยังได้รับข้อเสนอของ บตท. ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีเงื่อนไขพิเศษในเรื่องอัตรา ดอกเบี้ยให้กับผู้ที่สนใจซื้อทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยจาก BAM ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุดพักอาศัย และอาคารพาณิชย์เพื่ออยู่อาศัย ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตน เองได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าว ยังเป็นช่องทางในการเพิ่มขนาดสินทรัพย์ของ BAM โดยในช่วงที่ผ่านมาได้รับซื้อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) จากสถาบันการเงินเข้ามาบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) สูงถึงจำนวน 145,963 ล้านบาท และปัจจุบัน BAM มี NPL อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 52,984 ราย คิดเป็นมูลค่า 382,700 ล้านบาท ขณะที่มี NPA จำนวน 12,220 รายการ คิดเป็นมูลค่า 35,939 ล้านบาท ในขณะที่ยอด NPL ในระบบสถาบันการเงิน ณ เดือนมีนาคม 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 256,003 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555 ซึ่งมียอด NPL อยู่ที่ 254,216 ล้านบาท เนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่อในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะตลาดรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยซึ่งยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 8.5% และคุณภาพของสินเชื่อยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากสถาบันการเงินค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและกลั่นกรอง ลูกค้า