Main Page > Economic Articles > บทความวิเคราะห์รายงานทางเศรษฐกิจ(ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566)
ข้อมูลเดือนกันยายน 2566 จากตารางภาวะเศรษฐกิจและการเงิน จะเห็นว่าดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าลดลง เพราะราคาน้ำมันยังมีราคาปรับตัวลดลง รวมทั้งราคาสินค้าจำพวกอาหารสดราคาค่อนข้างทรงตัว จึงส่งผลทำให้ราคามีทิศทางที่น้อยลงจากเดือนที่ผ่านมา ส่วนภาคการผลิตมีการปรับตัวมากขึ้น เนื่องจากภาวะการค้าโลกมีแนวโน้มดีขึ้น จึงทำให้ในเดือนนี้การผลิตสินค้ามีการขยายตัวขึ้นมา ในขณะเดียวกันดุลการค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นและยังมีทิศทางที่เป็นบวก ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังมีความแปรปรวนอยู่ จึงยังไม่น่าเป็นห่วงมากเท่าไรนัก ทั้งนี้ต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามภาวะการเงินยังทรงตัวไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง โดยปริมาณเงินฝากและเงินให้สินเชื่อมีค่าลดลง เนื่องจากการลงทุนอื่นๆ เริ่มมีผลตอบแทนที่ดีขึ้น จึงส่งผลให้การออมเงินมีการหดตัวลงมา ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อมีค่าลดลง เนื่องจากธนาคารได้มีการทยอยปล่อยสินเชื่อออกไปบ้างแล้ว ทำให้ในเดือนนี้จึงมีการหดตัวลง รวมทั้งยังมีความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสียตามมาอีกด้วย
ตารางภาวะเศรษฐกิจและการเงิน
เดือน / รายละเอียด |
มิถุนายน 66 |
กรกฎาคม 66 |
สิงหาคม 66 |
กันยายน 66 |
ดัชนีราคาผู้บริโภค |
107.83 |
107.82 |
108.41 |
108.02 |
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม |
93.28 |
91.26 |
91.94 |
92.23 |
อัตราการใช้กำลังการผลิต |
59.22 |
58.09 |
57.91 |
58.02 |
ดุลการค้า |
2,017.61 |
355.18 |
1,224.57 |
3,813.09 |
ดุลบัญชีเดินสะพัด |
867.56 |
-508.02 |
401.21 |
3,406.05 |
เงินฝาก |
17,051.73 |
16,978.65 |
16,964.43 |
n.a. |
เงินให้สินเชื่อ |
18,486.88 |
18,317.50 |
18,278.05 |
n.a. |
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ ดัชนีราคาผู้บริโภค มีปีฐานคือ 2562 เงินฝาก/เงินให้สินเชื่อ มีหน่วยเป็น พันล้านบาท
อัตราการใช้กำลังการผลิต มีหน่วยเป็น ร้อยละ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีปีฐานคือ 2559
ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด มีหน่วยเป็น ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
Branded Residence หรือโครงการที่อยู่อาศัยที่มีโรงแรมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของที่อยู่อาศัยที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวของไทย เช่น พัทยา ภูเก็ต สมุย ชะอำ หัวหิน กระบี่ พังงา ที่มีบริการโรงแรมระดับ 3-5 ดาว เพื่อดูแลส่วนกลางและบริการต่างๆ จะได้ไม่ต้องจัดจ้างพนักงานเพิ่ม ทั้งนี้ในกรุงเทพฯ มีหลายโครงการที่เปิดขายมานาน บางแห่งมากกว่า 10 ปี ซึ่งโครงการรูปแบบนี้มักจะมีแบรนด์ของโรงแรมเป็นส่วนหนึ่งของชื่อโครงการเพื่อสื่อถึงความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะต่างชาติ จึงมีราคาขายที่สูงกว่าคอนโดมิเนียมทั่วไปราว 10%
ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียม Branded Residence ในกรุงเทพฯ เปิดขาย 4,200 ยูนิต ส่วนใหญ่เปิดขายตั้งแต่ ปี 2558 แต่ช่วงปี 2562 แทบจะไม่มีโครงการรูปแบบนี้เปิดขาย และกลับมาเปิดขายอีกครั้งปลายปี 2566 คอนโดมิเนียม Branded Residence ในกรุงเทพฯ มีทั้งการขายแบบกรรมสิทธิ์ในเอกสารสิทธิ์ถาวร และการขายแบบสิทธิการเช่า 30 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งการขายแบบสิทธิการเช่าอาจตั้งราคาขายค่อนข้างสูงเทียบการขายแบบกรรมสิทธิ์ เพราะแบรนด์โรงแรมที่เข้ามาบริหารอยู่ในระดับที่สูงกว่า หากเป็นแบรนด์โรงแรม 5 ดาว บางโครงการเปิดขายมากกว่า 350,000 บาทต่อตารางเมตร หรือเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาทต่อยูนิต
ขณะที่โครงการที่ขายแบบกรรมสิทธิ์อาจมีราคาขายต่ำกว่าค่อนข้างมากราว 220,000 บาทต่อตารางเมตร ถ้าเปิดขายก่อนปี 2560 ราคาเริ่มต้นต่ำกว่า 170,000 บาทต่อตารางเมตร แต่โครงการที่ขายแบบสิทธิการเช่าราคาขายหรือมูลค่าจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อระยะเวลาในสัญญาเช่าลดน้อยลงจากที่เปิดขายวันแรก สำหรับอัตราการขาย Branded Residence ในกรุงเทพฯ เฉลี่ย 78% ทำให้ยูนิตเหลือขายไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ชั้นในตามแนวถนนสุขุมวิท และพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ หรือรูปแบบเฉพาะ เช่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยา รอบสวนลุมพินี หรือใน CBD จึงได้รับความสนใจจากผู้ซื้อชาวไทยและต่างชาติ
แม้ว่าหลายโครงการจะขายแบบสิทธิการเช่าระยะยาวก็ตาม โครงการรูปแบบนี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บน ที่ดินราคาสูงในพื้นที่เมืองชั้นในหรือบนที่ดินสิทธิการเช่าระยะยาว ผู้ประกอบการจึงต้องเพิ่มการบริหารและบริการรูปแบบนี้เข้าไปในโครงการเพื่อที่จะปรับราคาขายให้เหมาะสมกับราคาที่ดินและต้นทุนพัฒนาโครงการราคาขายเฉลี่ยของ Branded Residence ปัจจุบันอยู่ที่ 250,000 บาทต่อตารรงเมตร บางโครงการมากกว่า 300,000 และ 400,000 บาทต่อตารางเมตร
แนวโน้มโครงการ Branded Residence ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยวชายทะเล ทว่าจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นไม่มากเฉลี่ยเปิดปีละ 1-2 โครงการ เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก เช่น กลุ่มทีซีซีมี Branded Residence ในโครงการวันแบงค็อกและเอเชียทีค รวมถึงพื้นที่ “ล้ง 1919” ที่เปลี่ยนเป็นแบรนด์โรงแรมหรูระดับโลก The Ritz-Carlton สอดคล้องกับทิศทางของ Branded Residence ในหลายประเทศทั่วโลก เพราะเป็นหนึ่งในเป้าหมายของนักลงทุนที่ต้องการเป็นเจ้าของโครงการ Branded Residence ที่อาจมีเพียง 1 โครงการในประเทศนั้นๆ หากแต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในระยะยาว คือ แบรนด์โรงแรมที่มีส่วนร่วมกับโครงการจะยืนระยะไปได้นานแค่ไหน โดยก่อนหน้านี้มีเรื่องของการเปลี่ยนแบรนด์โรงแรมในการบริหารหรือมีส่วนร่วมในโครงการ ถ้าแบรนด์โรงแรมที่เข้ามาบริหารใหม่หลังจากแบรนด์เดิมนั้นมีชื่อเสียงไม่เหมือนเดิม จะมีผลต่อราคาขายในอนาคตหรือไม่ เพราะต้องไม่ลืมว่าราคาขายช่วงแรกเป็นราคาที่ตั้งมาจากแบรนด์โรงแรมเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการโรงแรม อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงส่วนของค่าส่วนกลางที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีผลต่อการรักษามาตรฐานบริการและการบริหารส่วนกลางในระยะยาวอีกด้วย
วิเคราะห์ผลกระทบของ AI & Automation ที่มีต่อแรงงาน
สถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้ออกบทความพบว่าจากการสังเกตเทรนด์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านมุมมองนักเศรษฐศาสตร์แรงงาน ผู้ว่าจ้าง และผู้ผลิตระบบ AI ให้กับธุรกิจในประเทศไทย สามารถสรุปประเด็นสาระสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อแรงงานในอนาคต ดังนี้
อัตราการพัฒนาของ AI โดยเฉพาะด้านภาษาและการมองเห็นที่เชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอก ถือว่าก้าวกระโดดไปได้รวดเร็วกว่าที่ทุกคนคาดคิด ในหลายมิติของการทำงาน AI ณ ปัจจุบันมีความสามารถและ ประสิทธิภาพมากกว่าแรงงานทั่วไปแล้ว และภายในปีหน้าคาดว่าบางมิติของทักษะในการบริหารหรือการวางแผนธุรกิจ AI จะทำได้ดีกว่าผู้บริหารทั่วไป ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ เปลี่ยนการมาของเทคโนโลยีนี้ให้กลายเป็นโอก
1. อัตราการใช้งานเทคโนโลยีโดยองค์กร (adoption) หากอัตราการใช้เข้มข้น ผลกระทบต่อแรงงานจะเกิดขึ้นเร็ว แลกกับการได้มีโอกาสปรับตัวก่อนคนอื่น หากอัตราการใช้เจือจาง ผลกระทบต่อแรงงานมาช้าลง แต่อุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบภายหลัง เมื่อโดยคู่แข่งที่ปรับไปใช้เทคโนโลยีช่วยการผลิตที่เหนือกว่า
2. ความคล่องตัวในองค์กร (flexibility) ว่าพร้อมที่จะเลิก ชะลอการจ้างงาน หรือกล้าที่จะเปลี่ยน กระบวนการผลิตหรือให้ความหมายใหม่กับพนักงานเพียงใด นายจ้างมีทางเลือกหลักอยู่ 2 ทางคือ ทางเลือกแรก ทดแทนแรงงานด้วยเทคโนโลยี หรือทางเลือกที่สอง คิดชิ้นงานใหม่ขึ้นมาเพื่อเอาไปขายให้ได้มากกว่าเดิม หากทุกองค์กรเลือกทางเลือกแรกจะเกิดแรงกดดันต่อแรงงานมหาศาล แต่หากย้อนมองประวัติศาสตร์จะพบว่าแม้เทคโนโลยีสำคัญจะมีผลกับการปลดคนจริง แต่ก็มีการสร้างงานใหม่มารองรับจริงเช่นกัน เกินครึ่งของเนื้องานและหน้าที่ในเศรษฐกิจปัจจุบันไม่เคยมีมาก่อนเมื่อ 80 ปีที่แล้ว ฉะนั้นองค์กรที่ต้องการเติบโตจะสร้างชิ้นงานใหม่ให้กับแรงงาน โดยเฉพาะหาก AI มีลักษณะที่เสริมสร้างผลิตภาพของแรงงานให้ทำสิ่งที่ไม่เคยทำได้ (augmentation) ไม่ใช่การทดแทนอย่างสมบูรณ์ (complete automation) ในงานเดิมๆ
3. สัดส่วนของทักษะในแรงงาน (skill composition) ไม่ว่าองค์กรจะมีความยืดหยุ่นหรือไม่ หรือเทคโนโลยีจะเอียงไปด้าน augmentation หรือ ด้าน automation สุดท้ายจะตัดสินไปทางไหนขึ้นอยู่กับรายละเอียดเชิงโครงสร้างและสัดส่วนของทักษะในตัวแรงงานที่มีอยู่ภายในองค์กรและในตลาดแรงงานว่าสามารถปรับเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กรได้ดีเพียงใด เรื่องทักษะเป็นเรื่องที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน แต่เริ่มมีหลักฐานบ้างแล้ว การมี hard skills เช่น ทักษะวิเคราะห์การเงิน วินิจฉัยโรค เขียนโปรแกรม อย่างเดียวจะกลายเป็นแค่ทักษะขั้นพื้นฐาน ในช่วงหลังงานวิจัยเศรษฐศาสตร์แรงงานเริ่มเห็นหลักฐานแล้วว่าแม้ทักษะเหล่านี้มีนัยสำคัญต่อค่าตอบแทนที่สูง แต่พบว่าหลังปี 2000 เป็นต้นมา ได้ถูกลดบทบาทลงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับทักษะ soft skills เช่น ทักษะการตัดสินใจที่ดี และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
กลุ่มประชาสัมพันธ์
ฝ่ายสื่อสารองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์