Main Page > Economic Articles > บทความวิเคราะห์รายงานทางเศรษฐกิจและการเงิน เดือนตุลาคม 2556

บทความวิเคราะห์รายงานทางเศรษฐกิจและการเงิน เดือนตุลาคม 2556

รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงิน เดือนสิงหาคม 2556

            ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2556 จากตารางภาวะเศรษฐกิจและการเงิน จะเห็นว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าคงที่ เพราะสินค้าในหมวดอาหารสำเร็จรูปยังทรงตัว ขณะที่สินค้าจำพวกพืช ผัก ยังมีราคาสูงอยู่ อีกทั้งราคาน้ำมันยังมีความผันผวน ส่วนภาคการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จึงทำให้คำสั่งซื้อมีเข้ามาเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันดุลการค้ายังมีค่าเป็นบวก ตามการนำเข้าที่มีการขยายตัวลดลงไป อย่างไรก็ตามภาวะการเงินยังทรงตัวไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยปริมาณเงินฝากมีค่าเพิ่มขึ้นแต่เงินให้สินเชื่อมีค่าลดลง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะธนาคารพาณิชย์ยังแข่งขันในเรื่องการระดมเงินอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในตลาดมีอัตราที่สูง ส่งผลทำให้ประชาชนยังคงออมเงินอย่างต่อเนื่อง สำหรับการปล่อยสินเชื่อมีการปรับตัวลดลง เนื่องจากสัญญาณหนี้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ธนาคารต้องระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะเกรงว่าอาจจะทำให้เป็นหนี้ด้อยคุณภาพได้ จึงทำให้การปล่อยสินเชื่อมีการขยายตัวที่ลดลง

 

ตารางภาวะเศรษฐกิจและการเงิน

รายละเอียด

พฤษภาคม 56

มิถุนายน 56

กรกฎาคม 56

สิงหาคม 56

ดัชนีราคาผู้บริโภค

105.2

105.3

105.4

105.4

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

176.09

178.54

174.09

175.78

อัตราการใช้กำลังการผลิต

64.94

64.79

63.43

63.57

ดุลการค้า

5.4.74

587.61

257.55

2,214.20

ดุลบัญชีเดินสะพัด

-1,884.89

-969.23

-1,638.75

1,284.74

เงินฝาก

10,598.35

10,617.48

10,707.17

n.a.

เงินให้สินเชื่อ

12,011.80

12,013.99

11,904.59

n.a.

                 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
                 หมายเหตุ: ดัชนีราคาผู้บริโภค มีปีฐานคือ 2545,  เงินฝาก/เงินให้สินเชื่อ มีหน่วยเป็น พันล้านบาท
                               อัตราการใช้กำลังการผลิต มีหน่วยเป็น ร้อยละ, ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีปีฐานคือ 2543
                               ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด มีหน่วยเป็น ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

 

ภาวะอสังหาริมทรัพย์ เดือนสิงหาคม 2556
           • ด้านอุปทาน
              - ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เปรียบเทียบ ณ ส.ค. 55 กับ 56 มีรายละเอียดดังนี้

ปี

จำนวน

การเติบโต

ณ ส.ค. 55

79,484

NA

ณ ส.ค. 56

78,838

-0.81%

                             ที่มา: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

 

             - ประเภทที่อยู่อาศัยที่มีการจดทะเบียน ณ ส.ค. 56 เรียงตามลำดับมีรายละเอียดดังนี้

ประเภท

จำนวน

สัดส่วน

อาคารชุด

42,118

53.42

บ้านเดี่ยว

18,865

23.93

ทาวน์เฮ้าส์

10,293

13.06

อาคารพาณิชย์

6,615

8.39

บ้านแฝด

947

1.20

รวม

78,838

100.00

                             ที่มา: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์


          • ด้านอุปสงค์
             - การโอนกรรมสิทธิ์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เปรียบเทียบ ณ ส.ค. 55 กับ 56 มีรายละเอียดดังนี้

ปี

จำนวน

การเติบโต 

ณ ส.ค. 55

99,394

NA

ณ ส.ค. 56

106,555

7.20%

                             ที่มา: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

 

           - ประเภทที่อยู่อาศัยที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ณ ส.ค. 56 เรียงตามลำดับมีรายละเอียดดังนี้

ประเภท

จำนวน

สัดส่วน

อาคารชุด

41,935

39.35

ทาวน์เฮ้าส์

32,910

30.89

บ้านเดี่ยว

19,761

18.55

อาคารพาณิชย์

8,805

8.26

บ้านแฝด

3,144

2.95

รวม

106,555

100.00

                              ที่มา: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

 

          • อัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปลอยตัวเฉลี่ยของ 6 ธนาคารใหญ่ มีรายละเอียดดังนี้

ปี 56

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย

6 ธนาคาร

อัตราดอกเบี้ย

นโยบาย ธปท.

มกราคม-กุมภาพันธ์

7.23

2.75

มีนาคม-เมษายน

7.14

2.75

พฤษภาคม-สิงหาคม

7.14

2.50

                              ที่มา: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
                              หมายเหตุ: 6 ธนาคาร ประกอบ ธ.อาคารสงเคราะห์, ธ.กสิกรไทย, ธ.กรุงเทพ, 
                                            ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์

 

สรุปภาพภาวะอสังหาริมทรัพย์เดือนสิงหาคม 2556
           ภาพรวมของอุปทานมีการหดตัวลงเล็กน้อย 0.81% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการหดตัวมาจากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเป็นช่วงที่มีการเร่งการก่อสร้างหลังจากฟื้นตัวจากช่วงน้ำท่วม จึงทำให้มีจำนวนที่สูงกว่าในปีนี้ ในขณะที่ทางด้านอุปสงค์ยังมีการเติบโตได้ 7.20% โดยยังมีอาคารชุดเป็นตัวนำในเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์อยู่ เนื่องจากจำนวนอุปทานที่เริ่มสร้างเสร็จมีจำนวนมากขึ้นส่งผลทำให้มีการโอนเพิ่มขึ้นตามมาด้วย ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยยังทรงตัวอยู่ที่ 7.14% ถึงแม้ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.50% ก็ตาม

วิเคราะห์ความไม่แน่นอนในนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา*
           เศรษฐกิจโลกขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าการกลับเข้าสู่ความเป็นปกติของการขยายตัว หรือ Normalization of global growth ที่เศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น กำลังฟื้นตัวพร้อมกัน ตลาดการเงินโลกได้ตอบรับการฟื้นตัว โดยการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่กลับเข้าประเทศอุตสาหกรรม จากที่คาดว่าการฟื้นตัวจะทำให้ทิศทางนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมเปลี่ยนจากผ่อนคลายมาก เป็นผ่อนคลายน้อยลง และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในที่สุด และประเทศที่ตลาดการเงินจับตามากที่สุดขณะนี้ ในแง่นโยบายการเงิน ก็คือ สหรัฐอเมริกา เพราะเป็นประเทศแถวหน้าในวัฏจักรการฟื้นตัวที่กำลังเกิดขึ้น

           คำถามที่ตามมามีสองคำถาม 
           หนึ่ง การฟื้นตัวของประเทศอุตสาหกรรมหลักจะต่อเนื่องและยั่งยืนมากน้อยแค่ไหน 
           สอง ถ้าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักฟื้นตัว ผลกระทบที่จะเกิดกับประเทศตลาดเกิดใหม่จะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะผลที่เงินทุนไหลออกจะกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้

           ซึ่งการวิเคราะห์ในครั้งนี้จะเน้นไปในประเด็นคำถามแรกโดยมุ่งไปที่สหรัฐอเมริกา นั้นก็คือ ความยั่งยืนหรือความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะมีมากน้อยแค่ไหน ในประเด็นนี้ถ้าจะสรุปเห็นว่าการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นได้ต่อเนื่องก็ต่อเมื่อทางการสหรัฐอเมริกาลดความกังวลของตลาดการเงิน ในความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ขณะนี้มีอยู่สามประเด็น 
           หนึ่ง ทิศทางนโยบายการเงินจากนี้ไป 
           สอง ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐคนต่อไป 
           สาม แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะเพดานก่อหนี้ตามกฎหมาย ตราบใดที่ความไม่แน่นอนในสามประเด็นนี้ยังมีอยู่ ตลาดการเงินคงจะผันผวนต่อไป และภาคธุรกิจก็จะมีความมั่นใจน้อยในทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ทำให้การฟื้นตัวจะมีข้อจำกัดและไม่ยั่งยืน

           ประเด็นแรก เรื่องนโยบายการเงิน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำในปัจจุบัน ได้สร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมให้ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินลง แต่คงต้องทำเป็นขั้นตอน เริ่มโดยการลดปริมาณการอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการคิวอีไปสู่การดูดซับสภาพคล่องที่ได้ปล่อยไปกลับ (โดยขายพันธบัตร หรือไม่ Rollover พันธบัตรที่หมดอายุลง) และไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในที่สุด ความไม่แน่นอนขณะนี้ คือ เงื่อนเวลาและขนาดของการลดทอนที่จะเกิดขึ้น ทำให้ข่าวที่ออกมาเรื่องมาตรการคิวอีทุกครั้ง ไม่ว่าบวกหรือลบจะกระทบตลาดการเงิน โดยเฉพาะตลาดหุ้นทั่วโลกมากเกินกว่าเหตุในประเด็นนี้สิ่งที่ต้องเข้าใจ ก็คือ แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะดีต่อเศรษฐกิจโลกในระยะยาว ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไปจะเข้มแข็ง แต่ตลาดการเงินได้ตอบรับข่าวดังกล่าวในเชิงลบ เพราะกลัว “สภาพคล่อง” ที่จะลดลงจากการลดทอนมาตรการคิวอี ซึ่งจะฉุดให้ราคาสินทรัพย์โดยเฉพาะ “หุ้น” ให้ตก ดังนั้น ข่าวมาตรการคิวอีที่ออกมา (Tapering) จึงกระทบตลาดหุ้นมาก เทียบกับตลาดตราสารหนี้ที่ได้เริ่มปรับตัวตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไปแล้ว สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดพันธบัตรที่ปรับสูงขึ้น ที่สำคัญ ทั้งๆ ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกายังไม่ได้พูดชัดเจนว่าจะเริ่มลดทอนขนาดการอัดฉีดเท่าไร และเมื่อไร ตัวเลขฐานะสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาชี้ว่าสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในบัญชีการเงินประจำเดือนเริ่มแสดงอัตราการเพิ่มลดลงจากเดิม คือ จากที่เคยเพิ่มเฉลี่ยต่อเดือนในอัตราร้อยละ 3 ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ล่าสุดอัตราการเพิ่มช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมลดลงเหลือร้อยละ 1.5 ซึ่งชี้ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกาสนับสนุนการลดการผ่อนคลายนโยบายการเงิน และคงทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นการประกาศขนาดการลดทอนและเงื่อนเวลาการลดทอนคงจะเกิดขึ้นเร็ว และควรต้องเกิดขึ้นเร็วเพื่อลดความไม่แน่นอนที่มีอยู่

           ประเด็นที่สอง ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาคนใหม่ ขณะนี้มีผู้ที่อาจจะได้เป็นก็คือ รองประธานเฟด นาง Janet Yellen หลังจากที่ตัวเลือกของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คือ นาย Lawrence Summers ได้ประกาศถอนชื่อจากการพิจารณาด้วยเหตุผลทางการเมือง ที่ต้องการลดแรงกดดันต่อการทำงานของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพราะการเสนอชื่อนาย Summers คงมีแรงต่อต้านจากสมาชิกสภาสูงของพรรค   เดโมแครตเอง และในฐานะรองประธานเฟด นาง Yellen มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีที่จะสานต่อนโยบายการเงินตามทิศทางที่คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานเฟดคนปัจจุบันได้วางไว้ ดังนั้นการรีบประกาศแต่งตั้ง นาง Yellen เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะลดความไม่ชัดเจนในทิศทางนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับตลาดการเงินว่านโยบายการเงินสหรัฐอเมริกาจะเดินตามแนวทางปัจจุบันต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง

           ประเด็นที่สาม ก็คือ แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐอเมริกาที่การก่อหนี้ได้โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การแก้ไขปัญหายังไม่มีแนวทางชัดเจน ประเด็นนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่มีต่อนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาถูกกระทบ เพราะไม่มีความมั่นใจว่าปัญหาดังกล่าวจะแก้ไขได้ ทำให้ภาคธุรกิจชะลอการลงทุน ซึ่งกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในเรื่องนี้ปัญหาเฉพาะหน้าก็คือ เพดานการ   ก่อหนี้สาธารณะที่รัฐสภาได้กำหนดไว้ไม่ให้เกิน เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ แต่มีความเป็นไปได้สูงที่ระดับหนี้สาธารณะจะชนเพดานดังกล่าว ทำให้ทางการสหรัฐอเมริกาจะไม่สามารถกู้ยืมใหม่ได้ เพื่อใช้จ่ายตามงบประมาณ ที่สำคัญถ้าฝ่ายการเมืองสหรัฐอเมริกาไม่สามารถตกลงกันได้ในแนวทางการลดหนี้ ก็จะไม่มีเหตุผลหรือพื้นฐานที่จะใช้อ้างสนับสนุนการเพิ่มเพดานหนี้เป็นการชั่วคราว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่ทางการสหรัฐอเมริกาอาจลดการใช้จ่ายที่จำเป็นลง เพราะติดเพดานหนี้ ทำให้ไม่สามารถกู้ใหม่ได้ กรณีเลวร้ายสุด ก็คือ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาไม่มีเงินแม้แต่จะชำระหนี้ หรือจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้เกิดปัญหาชำระหนี้ เหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรป ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายมากต่อตลาดการเงินโลก ทางออกเรื่องนี้อยู่ที่ฝ่ายการเมืองสหรัฐอเมริกาทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ต้องหาข้อยุติที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาหนี้ และเพิ่มเพดานก่อหนี้เป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติ อันนี้จึงเป็นอีกความไม่แน่นอนที่จะเข้ามากระทบตลาดการเงินโลกค่อนข้างมากขณะนี้ 

           โดยสรุปความไม่แน่นอนทั้งสามเรื่อง เป็นความไม่แน่นอนด้านนโยบาย เป็นเรื่องที่สามารถทำให้ชัดเจนได้ แต่ถ้าไม่ทำ ความไม่แน่นอนก็จะมีอยู่ และจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินโลกต่อไป รวมถึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเองด้วย

แนวโน้มห้าปีหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก

            วิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกที่เกิดขึ้นปลายปี 2008 เป็นเรื่องที่ขณะนั้นจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้า เพราะความคิดของผู้ทำนโยบายและตลาดการเงินขณะนั้น เชื่อว่าความเสี่ยงต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ตลาดการเงินจะสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้ ความเสี่ยงในกรณีนี้ก็คือ ความเป็นหนี้ที่มากเกินไป ที่เกิดจากการกระตุ้นโดยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นเวลานาน นำไปสู่การสะสมความเสี่ยงและภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ในที่สุดก็เกิดขึ้นเป็นวิกฤติที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เพราะระบบและเศรษฐกิจการเงินโลกมีการเชื่อมโยงกันสูง ทำให้สถาบันการเงินในหลายประเทศประสบปัญหา และเศรษฐกิจหลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย บทเรียนที่สำคัญที่สุดที่มาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 ก็คือ การก่อหนี้ที่มากเกินไปที่เกินความสามารถที่จะชำระคืนนำไปสู่การเกิดวิกฤติที่รุนแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ภาครัฐหรือเอกชน ไม่ว่าการก่

Economic Articles

30 OCT 2013

768 Views

BAM Mobile Application

ค้นหาทรัพย์ง่ายๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส

บริการฝากขาย
อสังหาฯ
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย